March 29, 2024

พูดดีเรียกว่าปากพารวย พูดไม่ดีเรียกว่าปากพาจน มาเรียนรู้วิธีการพูดที่ดี ซึ่งทำให้ชีวิตดีในทุกๆ ด้าน

การพูดที่ดี

           ชีวิตดีมาจากการกระทำที่ดีรวมถึง การพูดที่ดี ด้วยแต่เชื่อว่าหลายคนไม่ค่อยเห็นความสำคัญของการพูดเท่าไรนัก  ดังนั้นมาเรียนรู้เรื่องการพูดจากสถานการณ์ตัวอย่าง  เพื่อจุดประกายการพูดให้คนชื่นชมว่าคุณ  “พูดดี”  ไม่ใช่  “ปากดี”  กันดีกว่า…      

การพูดที่ดี

ยกตัวอย่างสถานการณ์ การพูดที่ดี  ให้คุณเรียนรู้เป็นไอเดียและนำไปปรับใช้

สถานการณ์ตัวอย่างที่  1  ลูกน้องตอบคำถามเจ้านายเรื่องพนักงานใหม่ที่มักชอบอู้งาน

–  ปากพารวย  ลูกน้องตอบเจ้านายว่า  “เขาทำงานใช้ได้ครับ  แต่ถ้าขยันกว่านี้อีกหน่อยก็เยี่ยมเลย” (จะเห็นว่าลูกน้องไม่ได้โกหก  เพียงแต่พูดความจริงไม่หมด…  ซึ่งการพูดที่ดีเช่นนี้มีประโยชน์หลายประการตรงที่ไม่สร้างศัตรูเพิ่มโดยไม่จำเป็น  เป็นการแสดงความคิดเห็นในด้านบวกเมื่อต้องพูดพาดพิงถึงบุคคลอื่น  อีกทั้งเจ้านายยังมองด้วยว่าลูกน้องมองโลกในแง่บวก  ทั้งที่ความจริงแล้วเจ้านายอาจระแคะระคายในพฤติกรรมของพนักงานใหม่มาบ้าง  จึงเอ่ยปากถามก็เป็นได้…)
–  ปากพาจน  ลูกน้องตอบเจ้านายว่า  “ผมไม่อยากจะพูดเลยครับหัวหน้าว่าน้องเขาชอบอู้งานมาก!”  (นี่ขนาดไม่อยากจะพูดนะเนี่ย  อีกนิดก็ใส่ไฟแล้ว…  เจ้านายอาจมองว่าลูกน้องคนนี้พูดเกินจริงหรือไม่)

เรียนรู้วิธี การพูดที่ดี

สถานการณ์ตัวอย่างที่  2  หญิงสาว  2  คนซื้อกระเป๋าแบบเดียวกันเป๊ะมาในราคาต่างกันลิบลิ่ว

(ขอตั้งชื่อหญิงสาวคนที่ซื้อกระเป๋ามาในราคาถูกกว่าว่า “เอ” ส่วนหญิงสาวอีกคนที่ซื้อกระเป๋ามาในราคาแพงกว่ามากชื่อ “บี”)
–  ปากพารวย  เอพูดกับบีว่า “สงสัยกระเป๋าของฉันคงมีตำหนิล่ะ  ถึงได้ราคาถูกกว่าเธอตั้งครึ่ง!” หรือ “ฉันเป็นลูกค้าประจำ คนขายเลยลดราคาให้ถูกขนาดนี้” หรือ “ที่ฉันซื้อได้ถูกเพราะมันเหลือใบเดียวในร้านจ้ะ” (เรียกว่าซื้อของได้ถูกแต่ไม่เกทับเพื่อนให้เจ็บช้ำน้ำใจ  แถมยังถ่อมตัวอีกต่างหาก)
–  ปากพาจน  เอพูดกับบีว่า “เธอโดนหลอกแล้วล่ะ เดี๋ยวฉันพาเธอไปซื้อร้านประจำเอง”  (พูดแบบนี้อาจเปลี่ยนมิตรให้กลายเป็นศัตรูได้)

การพูดที่ดี ซึ่งทำให้ชีวิตดีในทุกๆ ด้านกันดีกว่า

สถานการณ์ตัวอย่างที่  3 ชายคนหนึ่งต้องการให้เสื้อผ้าเก่ากับพนักงานเก็บขยะ

–  ปากพารวย  ผู้ชายคนนี้พูดว่า  ขอโทษครับ  คุณช่วยนำเสื้อผ้าเก่าถุงนี้ไปจัดการให้ด้วย  ถ้าไม่มีคุณผมก็ไม่รู้ว่าจะจัดการอย่างไรดี”  (เป็นการพูดที่ดีซึ่งบอกเป็นนัยๆ ว่ามีอะไรอยู่ในถุง  ซึ่งเป็นสิ่งที่ยังใช้ประโยชน์ได้อยู่)
–  ปากพาจน  ผู้ชายคนนี้พูดว่า  “ผมมีเสื้อผ้าเก่าที่ไม่ใช้แล้วอยู่ในถุงนี้  คุณช่วยรับไปหน่อยสิ” (แม้เป็นคำพูดที่สุภาพแต่อาจทำให้ผู้รับลำบากใจ  หรือรู้สึกโดนดูถูกได้…)

สามารถกดติดตาม อาชีพอิสระ และอาชีพอื่น ๆ ที่น่าสนใจ การฝึกพูดให้น่าฟัง วิธีการพูดภาษาไทยให้มีเสน่ห์พูดแล้วไม่ว่าใครก็อยากฟังคุณ!