March 30, 2024

การฝึกพูดให้น่าฟัง วิธีการพูดภาษาไทยให้มีเสน่ห์พูดแล้วไม่ว่าใครก็อยากฟังคุณ!

การฝึกพูดให้น่าฟัง

                   การฝึกพูดให้น่าฟัง  หากปรารถนาความก้าวหน้าแล้วนอกเหนือจากการพัฒนาตนเองในเรื่องการงาน “การพูด” ก็สำคัญเพราะหากพูดดีพูดเป็น ก็สามารถสร้างเสน่ห์และข้อได้เปรียบที่ทรงพลังซึ่งเรียกคะแนนจากทุกคนได้

การฝึกพูดให้น่าฟัง

วิธี การฝึกพูดให้น่าฟัง ฝึกพูดให้รู้เรื่อง  ฝึกไว้เพื่อความก้าวหน้า             

เล็งเป้า!

    วิธีการฝึกพูดที่ดีต้องรู้ก่อนว่าจะพูดเพื่ออะไร  เป้าหมายในการพูดคืออะไร  เพื่อให้เป็นการพูดเข้าเป้า  ไม่หลงประเด็น  ไม่เสียเวลาอันมีค่าแก่ทุกฝ่าย

เข้าจังหวะ

     หมายถึงจังหวะในการพูดซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ เหมือนจังหวะเสียงเพลงหรือดนตรีจังหวะดีก็โดนใจสร้างแรงดึงดูดได้ ซึ่งการพูดที่ดีต้องมีจังหวะเหมาะสม ไม่พูดเชื่องช้า ไม่พูดเร็วรีบ  ให้อยู่ที่นาทีละประมาณ 25 คำ ดังนั้นให้ทดสอบการพูดของตัวเองดูว่าจังหวะอยู่ที่เท่าไร?

วิธี การฝึกพูดให้น่าฟัง

พูดสร้างพลังบวก

     การพูดที่ดีเนื้อหาที่พูดควรสร้างพลังบวก เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของตัวเองและอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วย เช่น พูดเรื่องเกี่ยวกับความสุข การพัฒนาตนเองและสังคมความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ เพราะใครๆ ก็อยากฟังในสิ่งดีๆ จริงไหม?  

พูดชัดๆ     

     วิธีการพูดให้มีเสน่ห์น่าฟัง เสียงต้องดังฟังแล้วชัดให้ลองนึกถึงคนไทยที่พูดภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว สำเนียงคล้ายคลึงกับเจ้าของภาษาดูครับว่าน่าฟังขนาดไหน ภาษาไทยก็เช่นกันที่ต้องพูดให้ชัดๆ ในรายละเอียดเหล่านี้
–  พูดตัว  ร  ล  ได้ชัด
–  พูดคำควบกล้ำได้ชัด  ดังนี้
1.พูดคำควบกล้ำตัว ร เช่น เพราะ/พริ้ง/พราว /พร้อม/ เพรียง/โพรง
2. พูดคำควบกล้ำตัว ล  เช่นคำว่า เพลิน/ เพลง/ พล่าน/ โผล่ เปลี่ยน ปลอบ
 3. พูดคำควบกล้ำตัว ว  เช่น กว้าง/ แกว่ง/ กว่า/ ขวาง/ ความ /ควัน  

การฝึกพูดให้น่าฟัง-ภาษาไทยให้มีเสน่ห์

–  พูดคำที่เป็นอักษรนำให้ถูกต้อง  เช่น  ตลาด  ออกเสียงว่า  ตะ – หลาด  ไม่ใช่  ตะ – ลาด   
–  ฝึกพูดภาษาไทยโดยไม่รวบคำ  เช่น  คำว่า  มหาวิทยาลัย  ให้พูดว่า  มะ – หา – วิด – ทะ – ยา – ลัย  ไม่พูดว่า   มะ – หา – ลัย  หรือ  หมา – ลัย    
–  พูดคำที่เป็นเสียงสั้น เสียงยาว ให้ชัดเจน ไม่ปะปนกัน  ซึ่งอาจผิดความหมายได้  เช่น  เขา (เป็นคำเสียงสั้น)  แต่  ขาว (เป็นคำเสียงยาว) 
–  ฝึกพูดให้รู้เรื่องด้วยการเว้นวรรคคำให้ถูกต้อง หากเว้นวรรคผิดอาจผิดความหมายได้  เช่น  “เขามีความรับผิดชอบในตัวเอง” หากเว้นวรรคผิดเป็น  “เขามีความรับผิด ชอบในตัวเอง”  คนฟังคงขำกลิ้ง…  
–  พูดคำต่างๆ ให้ถูกต้องตามหลักภาษาหรือตามความนิยม หากไม่แน่ใจให้เปิดพจนานุกรม

หากคุณกำลังมองหาอาชีพใหม่ ๆ อย่าลืมกดติดตาม แนะนำอาชีพเสริม
และอาชีพอื่น ๆ ที่น่าสนใจ การพูดในที่สาธารณะ การพูดในที่ประชุมให้ชนะใจคนฟังให้การงานก้าวหน้า