March 30, 2024

การใช้ ภาษากาย ในการพูดให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้การพูดดี มีแต่คนฟังชื่นชอบ

ภาษากาย

     การพูดไม่ได้มีเพียงคำพูดที่สื่อสารออกไปเท่านั้นแต่ยังหมายรวมถึง ภาษากาย ที่สามารถส่งเสริมให้การพูดน่าดึงดูดและคำพูดที่ส่งออกไปมีความหนักแน่นน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น

ภาษากาย 1

การใช้ ภาษากาย ในการสื่อสารการพูด  เพื่อให้การพูดได้คะแนนดี 

ภาษากายสบสายตา

     ส่วนใหญ่แล้วนักพูดมือใหม่หรือคนที่ต้องพูดต่อหน้าที่ประชุมมักขี้อายชอบก้มหน้าหรือมองเพดานไม่กล้าสบสายตาผู้ฟังทำให้คำพูดที่ส่งออกไปขาดพลัง 

 การฝึกสบตาผู้ฟังเป็นทฤษฎีภาษากายที่มีประโยชน์หลายประการ  ได้แก่

–  สร้างความมั่นใจให้ตัวเองอย่างรวดเร็ว

–  แสดงถึงความมีมารยาท  มีการให้เกียรติผู้ฟัง

–  สร้างพลังหรือความดึงดูดผู้ฟังได้ดี

–  แสดงถึงความเป็นมิตร

–  ช่วยสร้างบุคลิกภาพ

–  สามารถบอกความคิดและความรู้สึกของเราแก่ผู้ฟังได้ 

–  แสดงความมีส่วนร่วมกับผู้ฟังในสถานการณ์ต่างๆ 

ภาษากาย-สบสายตา

  แนะนำให้ใช้ภาษากายฝึกสบตาขณะพูดดังนี้

–  ต้องมั่นใจว่าเป็นการสบตาผู้ฟังจริงๆ ไม่ใช่การจ้องตาแบบจ้องจิก จ้องจับผิด เพ่งมอง  หรือเหลือบมองด้วยหางตาที่ดูเสียมารยาท

–  สายตามีความเป็นมิตรอย่างที่เรียกว่ายิ้มด้วยดวงตา

–  สายตาที่แสดงออกมีความจริงใจและเต็มใจ

–  มีการละสายตาไปทางอื่นบ้างตามโอกาส

–  หากมีผู้ฟังจำนวนมากต้องใช้การกวาดสายตาจึงจะถือว่าสบตาอย่างสมบูรณ์ ไม่ใช่สบตาเพียงผู้ฟังที่อยู่ด้านหน้าหรือไม่กี่คนเท่านั้น

ภาษากาย ในการพูด

ภาษากายมือไม้ท่าทาง

     การใช้ภาษา ท่าทางหรือมือไม้ในที่นี้ก็คือการใช้มือเป็นท่าทางหรืออุปกรณ์ประกอบการพูดซึ่งมีข้อดีมากมาย ได้แก่

–  มีส่วนเสริมสำคัญในคำพูดหรือข้อความที่ต้องการจะส่งออกไปซึ่งบางครั้งภาษากายบอกความรู้สึกได้ดีกว่าคำพูด

–  ทำให้การพูดลื่นไหลสร้างสมดุลในการพูดได้ 

–  ทำให้การพูดดูเป็นธรรมชาติ

–  มีพลังในการดึงดูดผู้ฟังยิ่งขึ้น

–  ทำให้ผู้ฟังรู้สึกผ่อนคลาย

ภาษากาย-ในส่วนของมือไม้ท่าทางในการพูดที่ดี

สำหรับการใช้ภาษากายในส่วนของมือไม้ท่าทางในการพูดที่ดี  มีรายละเอียดดังนี้

–  การใช้มือต้องหนักแน่นมั่นคงแต่ดูเป็นธรรมชาติ

–  ไม่ควรใช้มือไม้ต่ำกว่าเอวเพราะจะขาดพลัง หรือหากสูงกว่าหัวไหล่ก็จะดูโอเวอร์เกินไป 

–  ห้ามชี้หน้าผู้ฟังเด็ดขาดเพราะถือว่าเสียมารยาทมาก หากต้องการกล่าวถึงใครให้ใช้การผายมือไปทางนั้น

–  ภาษากายที่ดี  จังหวะที่ใช้ต้องพอดีกับการเปล่งคำพูดจึงจะเข้าจังหวะและมีพลัง ลองนึกถึงวาทยกรที่อำนวยเพลงดูก็จะเห็นภาพชัดเจนขึ้นครับ

–  ไม่ใช้มือไม้บ่อยๆ หรือซ้ำซากเกินไป เพราะผู้ฟังจะรู้สึกว่าเรากำลังรีวิวประกอบเพลงอยู่หรือเปล่า 

สามารถกดติดตาม แนะนำอาชีพเสริม
บทความอาชีพที่น่าสนใจ เพื่อนร่วมงาน สำคัญแค่ไหน ทำไมต้องมีเพื่อนร่วมงาน