March 30, 2024

กลยุทธ์ การเจรจาต่อรอง ซื้อของอย่างไรให้ได้ราคาน่าพอใจ ไม่เสียเปรียบ?

การเจรจาต่อรอง

     ในส่วนนี้ขอนำเสนอกลยุทธ์ การเจรจาต่อรอง ที่คุณสามารถนำไปปรับใช้กับการซื้อสินค้าและทำธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะไปพบเจอลูกค้าหรือผู้ร่วมงานก็ตาม การเจรจาที่ดีมักจะมีผลดีที่ตามมาเสมอ  วันนี้เลยมีเทคนิคดี ๆ ใการเจรจาต่อรองมาบอกและได้ผลแน่นอน

การเจรจาต่อรอง

เรียนรู้ การเจรจาต่อรอง สินค้าอย่างไรให้การต่อรองเห็นผล

1.  มีมาดหน่อย

     คำว่ามีมาดในที่นี้หมายถึง  การแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมในการต่อรอง  เช่น

–  แสดงความมั่นใจในตัวเอง
–  พูดจาเสียงดังฟังชัด
–  น้ำเสียงที่พูดเข้มแข็งหนักแน่น  ไม่ต้องเสียงอ่อนเสียงหวานก็ได้  แค่ฟังแล้วสุภาพก็พอครับ  และไม่จำเป็นต้องมีหางเสียงทุกประโยคด้วย

การเจรจาต่อรอง ซื้อของ

2.  อย่าตัดตอนตัวเอง

     ขอยกตัวอย่างคำพูดในการต่อรองแบบตัดตอนตัวเอง  ที่ทำให้ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในทันที  เช่น  

–  “ราคาแพงไปนะ”
–  “เจ้านั้นราคาถูกกว่าตั้งเยอะ”   (คนขายอาจคิดว่าถ้าถูกกว่าแล้วทำไมไม่ไปซื้อเจ้านั่นล่ะ  มาซื้อของร้านเรา  เราก็จะฟันซะให้เข็ด…)  
–  “ช่วยลดราคาให้หน่อยสิ”  (คนขายหรือคนที่เราทำธุรกิจด้วยอาจคิดว่า  ไม่ช่วยลดก็ได้ใช่ไหม?)
–  “ลดได้เท่าไหร่ล่ะ?”
–  “ลดมากกว่านี้ไม่ได้เหรอ?”
–  “ลดไม่ได้จริงๆหรือ?”   (เป็นคำพูดในการต่อรองที่ห้ามใช้เด็ดขาด  เพราะคนขายยังไม่ทันลดราคาให้เลย  คนซื้อก็ใจร้อนรีบชิงพูดเสียก่อนแล้ว…)
–  “แล้วคุณจะขายเท่าไหร่ล่ะ”
–  “ราคาของชิ้นนี้เท่ากับชิ้นนั้นหรือเปล่า?”  (คนขายอาจขายสินค้า  2  ชิ้นที่ถามไปในราคาเท่ากัน  แต่เมื่อคนซื้อถามเปิดทางให้ขนาดนี้  ก็จัดราคาแพงให้ไปซะเลย!)
–  “สินค้าคุณภาพไม่ดีเท่าไหร่นะ”  (จะซื้อของเขาแต่กลับไปติเขาเพื่อจะเอาราคาถูก  มีแนวโน้มที่อีกฝ่ายอาจไม่พอใจ  ไม่ลดราคาให้)

การเจรจาต่อรองเสนอราคาเสียเอง

3.  เสนอราคาเสียเอง

     ถึงจะเป็นคนซื้อก็ไม่ได้หมายความว่าจะเสนอราคาเองไม่ได้  ให้คุณตั้งราคาเองในแบบที่วินๆ กันทั้งสองฝ่าย  แต่ฝ่ายเราได้เปรียบกว่านะ…

4.  เงื่อนไข

     เป็นกลยุทธ์การเจรจาต่อรองด้วยการเสนอเงื่อนไขใหม่ๆ  ซึ่งทำให้คุณได้เปรียบและอีกฝ่ายยังมีทางออกที่น่าสนใจด้วย   สามารถใช้ในการต่อรองที่เริ่มจะยืดเยื้อ  ตกลงกันไม่ได้ซักที  เช่น

–  “ลดให้ผมหน่อย  เดี๋ยวยังไงก็จะมาอุดหนุนอีกเรื่อยๆ ล่ะ”
–  “ถ้าคุณไม่ลดให้ก็แถมหน่อยล่ะกัน”
–  “ผมซื้อ  2  ชิ้น  ลดไปถ้วนๆ ก็แล้วกัน”

5.  จุดยืน

     ในการเจรจาต่อรองคุณต้องยืนยันจุดยืนของตัวเองอย่างชัดเจนมั่นคง  เพื่อบีบให้อีกฝ่ายถอยให้  เช่น

–  “สรุปที่  10,000”      
–  “ผมให้ได้เต็มที่แค่นี้ล่ะ”
–  “3,000  บาท  ไม่ต่อแล้ว”

ฝากกดติดตามเว็บไซต์ แนะนำอาชีพเสริม และบทความเกี่ยวอาชีพที่น่าสนใจ การเจรจาต่อรอง ธุรกิจและการต่อรองในชีวิตประจำวันเรียนรู้ไว้ให้เป็นต่อ!